สถิติ
เปิดเมื่อ19/02/2014
อัพเดท6/03/2014
ผู้เข้าชม54828
แสดงหน้า63568
บทความ
ไฟฟ้าสถิต
อิเล็กโตรสโคป
ไฟฟ้าสถิต และการเกิดไฟฟ้าสถิต
ชนิดของประจุไฟฟ้า แรงกระทำที่เกิดขึ้นระหว่างประจุไฟฟ้า
การส่งผ่านประจุฟฟ้า
ตัวนำและฉนวนไฟฟ้า
การทำให้วัตถุที่เป็นกลางทางไฟฟ้ามีอำนาจทางไฟฟ้า
อิเล็กโทรสโคป (electroscope)
สนามไฟฟ้า (electric field)
แรงระหว่างประจุและกฎของคูลอมบ์
ศักย์ไฟฟ้า
พลังงานศักย์ไฟฟ้า
ตัวเก็บประจุ
การใช้ประโยชน์ด้านต่างๆ
วงจรไฟฟ้าในบ้าน
แบบฝึกหัด
แบบฝึกหัดท้ายบทเรียน
ไฟฟ้ากระแส
สนามไฟฟ้า
กระแสไฟฟ้า
แหล่งกำเนิดไฟฟ้า
การนำไฟฟ้า
กระแสไฟฟ้าในตัวนำ
กฎของโอห์ม
ความต้านทาน
สภาพต้านทานและสภาพนำไฟฟ้า
ไดโอด
วงจรไฟฟ้า
การวิเคราะห์วงจร
เครื่องมือวัดทางไฟฟ้า
พลังงานไฟฟ้าและกำลังไฟฟ้า
การคำนวณค่าไฟฟ้า เครื่องหมายบนเครื่องใช้ไฟฟ้าและ การต่อวงจรไฟฟ้าในบ้าน
ปฎิทิน
April 2025
Sun Mon Tue Wed Thu Fri Sat
  
1
2
3
4
5
6
7
8
9
10
11
12
13
14
15
16
17
18
19
20
21
22
23
24
25
26
27
28
29
30
   




ตัวเก็บประจุ

6/03/2014 16:11 เมื่อ 6/03/2014 อ่าน 311 | ตอบ 0
 ตัวเก็บประจุ
 
            ตัวเก็บประจุ เป็นอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ที่รู้จักทั่วไปว่าสามารถเก็บประจุได้ บางทีเรียกว่า คาปาซิเตอร์ ใช้สัญลักษณ์ย่อว่า มีหน่วยเป็น ฟารัด (F)
                                                              

            

 

        1. ตัวเก็บประจุชนิดค่าคงที่ จะไม่สามารถเปลี่ยนแปลงค่าการเก็บประจุได้ แบ่งได้ ชนิด

                ตัวเก็บประจุชนิดกระดาษ เป็นตัวเก็บประจุที่ใช้กระดาษชุบไข หรือน้ำมัน (Oil) เป็นฉนวนไดอิเล็กตริก โครงสร้างของตัวเก็บประจุชนิดนี้จะประกอบด้วยแผ่นเพลต

แผ่น ที่เป็นแผ่นดีบุกรีดจนบางคั่นกลางด้วยกระดาษชุบไขแล้วนำมาม้วนเข้าเป็นท่อนกลม จากแผ่นเพลตทั้งสอง แต่ละข้างจะถูกต่อขาที่เป็นลวดตัวนำออกมาใช้งาน ตัวเก็บประจุ

จะถูกหุ้มห่อด้วยฉนวนไฟฟ้าชนิดต่างๆ แล้วแต่บริษัทผู้ผลิต อย่างเช่น ปลอกกระดาษแข็ง กระเบื้องเคลือบ กระดาษอาบน้ำผึ้ง เป็นต้น เพื่อป้องกันความชื้นและฝุ่นละออง ดังแสดง

ในรูป

 
 

                ตัวเก็บประจุชนิดกระดาษจะมีค่าความจะไม่สูงมากนัก ซึ่งจะเขียนบอกไว้ที่ข้างๆ ตัวเก็บประจุ คืออยู่ในพิสัยจาก 10 pF ถึง 10mF อัตราทนไฟสูงประมาณ 150 โวลต์ 

จนถึงหลายพันโวลต์ โดยมากนิยมใช้ในวงจรจ่ายกำลังไฟสูง

 

            

            ตัวเก็บประจุชนิดไมก้า เป็นตัวเก็บประจุที่ใช้แผ่นไมก้าเป็นฉนวนไดอิเล็กตริก ส่วนมากตัวเก็บประจุชนิดนี้จะถูกทำเป็นรูปสี่เหลี่ยมเพราะแผ่นไมก้าจะมี

คุณสมบัติที่แข็งกรอบ โครงสร้างของมันจะประกอบด้วยแผ่นเพลตโลหะบางๆ อาจใช้หลายๆ แผ่นวางสลับซ้อนกัน แต่จะต้องคั่นด้วยฉนวนไมก้า ดังแสดงในรูป ซึ่งตัวเก็บประจุจะ

ถูกหุ้มห่อด้วยฉนวนจำนวนเมกาไลท์ เพื่อป้องกันการชำรุดสึกหรอ 

 

            ตัวเก็บประจุชนิดไมก้าจะมีค่าความจุอยู่ในพิสัยจาก 1.5 pF ถึง 0.1 mF มีอัตราทนแรงไฟได้สูงมากประมาณ 350 โวลต์ จนถึงหลายพันโวลต์ โดยบริษัทผู้ผลิตจะพิมพ์

บอกค่าความจุอัตราทนแรงไฟและค่าความคลาดเคลื่อนไว้บนตัวของมัน หรือบางทีก็ใช้สีแต้มบอกเป็นโค้ดที่ตัวเก็บประจุนี้ ซึ่งจะได้กล่าวถึงต่อไป ส่วนการใช้งานของตัวเก็บประจุ

ชนิดไมก้า นิยมใช้งานในวงจรความถี่วิทยุ (RF) และวงจรที่มีแรงดันไฟสูงมาก

           ตัวเก็บประจุชนิดเซรามิค เป็นตัวเก็บประจุที่ใช้ไดอิเล็กตริกที่ทำมาจากฉนวนจำพวกกระเบื้อง หรือที่เรียกว่า 'เซรามิค' ซึ่งมีโครงสร้างของตัวเก็บประจุ   จะมีรูป

ร่างแบบแผ่นกลม (Disc) และแบบรูปทรงกระบอก(Tubular) ซึ่งจะมีค่าความจุอยู่ในพิสัยจาก 1.5 pF ถึง 0.1 mF อัตราทนแรงไฟประมาณ

500 โวลต์

        ตัวเก็บประจุชนิดพลาสติก แต่จะใช้ไดอิเล็กตริกที่เป็นแผ่นฟิล์มที่ทำมาจากโพลีเอสเตอร (Polyester) ไมลาร์ (Mylar) โพลีสไตรีน (Polystyrene) และอื่นๆ โดยนำมา

คั่นระหว่างแผ่นเพลตทั้งสองแผ่นแล้วม้วนพับให้มีลักษณะเป็นรูปทรงกระบอก ตัวเก็บประจุชนิดพลาสติกจะมีค่าความจุอยู่ในพิสัยตั้งแต่ 2 mF ขึ้นไปและอัตราทนกำลังไฟตั้งแต่ 

200 ถึง 600 โวลต์

       ตัวเก็บประจุชนิดอิเล็กโทรลิติก  เป็นตัวเก็บประจุที่ใช้น้ำยาอิเล็กโทรไลท์เป็นแผ่นข้างหนึ่งแทนโลหะ และอีกแผ่นหนึ่งเป็นแผ่นโลหะมีเยื่อบางๆ ที่เรียกว่า 'ฟิล์ม' (Film) 

หุ้มอยู่ เยื่อบางๆ นี้คือ ไดอิเล็กตริก หรือแผ่นกั้นจะแสดงลักษณะรูปร่างของตัวเก็บประจุชนิดอิเล็กโทรลิติก ซึ่งส่วนมากจะบรรจุในกระป๋องอะลูมิเนียมทรงกลมยาว และจะมีขั้วบอก

ไว้อย่างชัดเจน ว่าขั้วใดเป็นขั้วบวกและขั้วลบ สัญลักษณ์ของตัวเก็บประจุชนิดอิเล็กโทรลิติก การต่อขั้วของตัวเก็บประจุชนิดอิเล็กโทรลิติกในการใช้งานเราจะต้องมีความระมัดระวัง

ให้มากที่สุด ถ้าหากว่าเราต่อขั้วผิดจะมีผลทำให้กระแสไฟเข้าไปทำลายเยื่อที่เป็นไดอิเล็กตริกชำรุดเสียหายได้ ตัวเก็บประจุชนิดอิเล็กโทรลิติกจะสามารถทำให้มีค่าความจุได้สูงนับ

เป็นร้อยๆ ไมโครฟารัด โดยที่ตัวเก็บประจุจะมีขนาดเล็ก ค่าความจุที่ใช้งานจะอยู่ในพิสัยสองสามไมโครฟารัดจนถึงมากกว่า 100 mF และอัตราทนกำลังไฟตั้งแต่ โวลต์จนถึง 700 

โวลต์ ซึ่งนิยมนำไปใช้ในวงจร ดี.ซี.

        ตัวเก็บประจุชนิดอิเล็กโทรลิติกจะมีข้อเสียอันเนื่องมาจากค่าสูญเสียจากสารไดอิเล็กตริกที่มีค่ามากแต่จะมีตัวเก็บประจุอีกชนิดหนึ่งที่ใช้หลักการเดียวกับตัวเก็บประจุชนิดอิเล็ก
 
โทรลิติกคือตัวเก็บประจุแบบแทนทาลัม (Tantalum Electrolytic Capacitor)

                

                2. ตัวเก็บประจุชนิดปรับค่าได้

            เป็นตัวเก็บประจุซึ่งการเก็บประจุจะเปลี่ยนแปลงไปตามการเคลื่อนที่ของแกนหมุน ตัวเก็บประจุชนิดนี้ปกติแล้วจะประกอบด้วยอุปกรณ์ภายใน ส่วน ได้แก่ แผ่นเพลตที่

เคลื่อนที่ได้และแผ่นเพลตที่ติดตั้งอยู่กับที่โดยแผ่นเพลตทั้งสองจะเชื่อมต่อกันทางไฟฟ้ากับวงจรภายนอก การแบ่งประเภทของตัวเก็บประจุชนิดปรับค่าได้นี้ จะแบ่งตามไดอิเล็กตริก

ที่ใช้ โดยแบ่งออกเป็น ชนิด ได้แก่ อากาศ ไมก้า เซรามิค และพลาสติก

    หน่วยของการเก็บประจุ

                ค่าการเก็บประจุ แสดงถึงความสามารถในการเก็บประจุไฟฟ้าของตัวเก็บประจุ โดยมีหน่วยเป็น   ฟารัด (Farad, F) ตัวเก็บประจุที่มีค่าการเก็บประจุ ฟารัด(F) หมายถึง 
 
ความสามารถที่ะเก็บประจุไฟฟ้าจำนวน คูลอมป์ (6.24 ด 1018 อิเล็กตรอน) โดยให้แรงดันไฟฟ้า โวลต์ ระหว่างแผ่นเพลตทั้งสองค่าการเก็บประจุ ฟารัด (F) เป็นค่าที่มีปริมาณ
 
มากและไม่ค่อยพบในอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ทั่วไปแต่จะใช้ในรูปของ ไมโครฟารัดความจุของตัวนำใด

             พลังงานสะสมในตัวเก็บประจุ

                    งานเคลื่อนประจุเข้าไปเก็บในตัวเก็บประจุ คือพลังงานที่สะสมในตัวเก็บประจุ ถ้าให้ แทนด้วยพลังงานที่สะสมอยู่ในเก็บประจุจะได้สูตรดังนี้

 

ความคิดเห็นของผู้เข้าชม
ชื่อผู้แสดงความคิดเห็น :
สถานะ : รหัสผ่าน :
ลิงค์ที่เกี่ยวข้อง :
รหัสความปลอดภัย :