6/03/2014 16:11 เมื่อ 6/03/2014
อ่าน 351
| ตอบ 0
การใช้ประโยชน์ด้านต่างๆ
ปัจจุบันมีเทคโนโลยีใหม่ๆ มากมายในการพัฒนาและผลิตเครื่องกรองอากาศหรือเครื่องกำจัดฝุ่นในอากาศ ซึ่งเราจะขอยกนำเสนอเทคโนโลยีที่นำมาประยุกต์จาก
ไฟฟ้าสถิต โดยผลิตเป็นเครื่องกำจัดฝุ่นในอากาศ อันจะมีประโยชน์ในการช่วยบรรเทาปัญหาฝุ่นควันที่ฟุ้งกระจายในอากาศตามแหล่งโรงงานอุตสาหกรรม หรือ บ้านเรือนซึ่งก่อให้
เกิดปัญหาตามมามากมาย
1. เครื่องกำจัดฝุ่นในอากาศ หรือเครื่องฟอกอากาศ เป็นอุปกรณ์กำจัดอนุภาคจากแก๊สเผาไหม้ หรือ จากอากาศร้อนที่สกปรก ประกอบด้วยท่อโลหะที่มีแกนกลางยึดติดด้วยฉนวนดังรูป

ใช้ความต่างศักย์สูงจากไฟกระแสตรงโดยต่อขั้วลบเข้ากับแกนกลาง และต่อขั้วบวกเข้ากับท่อ ทำให้เกิดสนามไฟฟ้าที่มีค่าสูงมากพอที่จะทำให้อนุภาคในอากาศ
สกปรกที่ผ่านเข้าไปในท่อได้รับอิเล็กตรอนจากแกนกลางจนกลายเป็นอนุภาคประจุลบ และถูกดูดข้าไปติดที่ท่อพร้อมๆ กับท่อถูกทำให้สั่นเป็นจังหวะๆ อนุภาคที่สะสมบนท่อจึงร่วง
หล่นลงส่วนล่างของท่อและถูกปล่อยออกแก๊ส หรือ อากาศที่ผ่านออกทางตอนบนของท่อจึงเป็นแก๊ส หรือ อากาศสะอาด
2. เครื่องพ่นสีเป็นอุปกรณ์ใช้สำหรับพ่นผงหรือละอองสี เพื่อให้สีเก้าติดชิ้นงานดีกว่าสำหรับเครื่องพ่นผงสีนั้น จะใช้หลักการทำให้ผงสีหรือละอองสีกลายเป็นอนุภาคที่มี
ประจุไฟฟ้าขณะถูกพ่น ออกจากเครื่องพ่น มีผลให้ผงหรือละอองที่มีประจุไฟฟ้านั้นมีแรงดึงดูดกับผิวชิ้นงานและจะเกาะ ติดชิ้นงานนั้นได้ดี
หลักการ ใช้ความต่างศักย์สูงต่อกับแผ่นโลหะ และชิ้นวัตถุที่ต้องการตรวจ โดยแผ่นโลหะนั้นเคลือบด้วยผงซิลิคอนคาร์ไบด์ต่อกับขั้วบวกส่วนชิ้นงาน (วัตถุ) ต่อเข้ากับ
ขั้วลบ เมื่อเครื่องทำงานผงซิลิคอนคาร์ไบด์จะกลายเป็นประจุบวกถูกผลักจากแผ่นโลหะไป กระทบกับชิ้นงาน อนุภาคของผงซิลิคอนคาร์ไบด์จะยึดเกาะตรงบริเวณลายนิ้วมือ ลายนิ้ว
มือจึงปรากฏให้เห็นซึ่งเป็นประโยชน์มากในการพิสูจน์อาชญากรรมบดังรูป งสียึดเคลือบผิวชิ้นงานดียิ่งขึ้น และช่วยให้ประหยัดผงสี เนื่องจากไม่ฟุ้งกระจาย
4. เครื่องถ่ายเอกสาร (เครื่องถ่ายสำเนาเอกสาร) เป็นอุปกรณ์ถ่ายสำเนาสิ่งพิมพ์ตัวอักษรหรือภาพลายเส้นจากต้นฉบับ ส่วนประกอบและหลักการทำงาน
แต่ละขั้นตอนแสดงไว้ดังรูป

หลักการ ให้แสงส่องไปที่ต้นฉบับสะท้อนผ่านเลนส์ไปกระทบแผ่นฟิล์ม ซึ่งฉาบด้วยวัสดุตัวนำที่ขึ้นกับแสง (จะมีสมบัติเป็นตัวนำเมื่อถูกแสง) โดยเมื่อเครื่อง
เริ่มทำงาน แผ่นฟิล์มนี้จะถูกทำให้มีประจุไฟฟ้าบวกทั่วทั้งแผ่นก่อนดังรูป ก. จากนั้นจึงให้แสงส่องไปที่ต้นฉบับสะท้อนผ่านเลนส์กระทบแผ่นฟิล์มบริเวณที่ เป็นที่ว่าง บนต้นฉบับ
จะให้แสงออกมากระทบแผ่นฟิล์ม ทำให้บริเวณที่ถูกแสงกลายเป็นตัวนำ จึงมีสภาพเป็นกลางทางไฟฟ้า ส่วนตัวอักษร หรือ ภาพลายเส้น บนต้นฉบับที่เป็นสีดำ (หรือสีเข้มๆ ) ดูด
กลืนแสง จึงไม่ให้แสงสะท้อนมากระทบแผ่นฟิล์มบริเวณนั้นบนแผ่นฟิล์มจึงไม่ถูกแสง ยังคงมีประจุบวกอยู่ดังรูป ข. เมื่อพ่นผงหมึกที่มีประจุลบไปบนแผ่นฟิล์มนี้ผงหมึกจะเกาะ
ติดเฉพาะบริเวณที่ มีประจุบวกนี้เท่านั้น ซึ่งเป็นบริเวณที่เกิดจากตัวอักษร หรือภาพลายเส้นดังรูป ค. ทำให้ปรากฏเป็นภาพของต้นฉบับบนแผ่นฟิล์ม เมื่อกดแผ่นกระดาษประจุบวกลง
แผ่นฟิล์มที่มีผงหมึกดังกล่าว จึงได้ภาพสำเนาปรากฏบนแผ่นกระดาษดังรูป ง. เมื่ออบแผ่นกระดาษด้วยความร้อน เพื่อให้ผงหมึกติดแน่นก็จะได้ภาพสำเนาที่ติดทนถาวรชัดเจน
|