6/03/2014 16:11 เมื่อ 6/03/2014
อ่าน 471
| ตอบ 1
การคำนวณค่าไฟฟ้า
เมื่อมีการใช้เครื่องใช้ไฟฟ้า ต้องเสียค่าไฟฟ้าให้กับการไฟฟ้า โดยคิดจากจำนวนพลังงานไฟฟ้าที่
เครื่องใช้ไฟฟ้านั้นๆ ใช้ไป
จาก...
จะได้ …
W = P.t
เมื่อ …
P = กำลังไฟฟ้าของเครื่องใช้ไฟฟ้า ... (Watt ; W วัตต์)
t = เวลาที่ใช้ไฟฟ้า ... (s ; วินาที)
W = พลังงานไฟฟ้าที่เครื่องใช้ไฟฟ้าใช้ไป ... (J ; จูล) |
|
|
โดยปกติหน่วยของพลังงานไฟฟ้า เป็นวัตต์.วินาที ถ้านำมาใช้กับพลังงานที่ใช้ จะไม่เหมาะสม เพราะเป็น
หน่วยเล็ก ในทางปฏิบัติจึงคิดพลังงานไฟฟ้าเป็นกิโลวัตต์.ชั่วโมง หรือ ที่เรียกกันว่า “หน่วย หรือ ยูนิต (Unit)”
1 หน่วย (Unit) = 1 กิโลวัตต์.ชั่วโมง
หาค่าพลังงานที่เครื่องใช้ไฟฟ้าใช้ไปได้จาก …
W = P (กิโลวัตต์) x t (ชั่วโมง)
จำนวนยูนิต หาได้จาก …

@ เครื่องมือวัดจำนวนยูนิต เรียกว่า “Kilowatt hour-meter”
การเปรียบเทียบหน่วย กิโลวัตต์.ชั่วโมงกับจูล …
1 kW.hr = 1000 Watt x 3600 s
1 kW.hr = 3.6 x 106 J |
|
|
|
เครื่องหมายบนเครื่องใช้ไฟฟ้า
เครื่องใช้ไฟฟ้า จะมีตัวเลขบอกความต่างศักย์ที่ใช้ (V) และกำลังไฟฟ้า (P) ที่เกิดขึ้นเป็นวัตต์ (W) แต่
บางชนิดก็กำหนดค่าความต่างศักย์ (V) กับกระแสที่ผ่านเครื่องใช้ไฟฟ้าเป็นแอมแปร์ (A) เช่น…
เตารีด 110 V 750 W หมายความว่า “เตารีดจะเกิดกำลัง 750 วัตต์ เมื่อใช้กับไฟฟ้าความต่างศักย์
110 โวลต์”
จำ… ควรใช้กับไฟความต่างศักย์ 110 โวลต์ เท่านั้น ถ้าใช้กับความต่างศักย์ 220 โวลต์ เตารีดจะไหม้
และเกิดอันตราย แต่ถ้าใช้กับความต่างศักย์ต่ำกว่า จะเกิดกำลังน้อยกว่า 750 วัตต์ ทำให้เกิดความร้อนน้อยลง
เตาไฟฟ้า 220 V 3 A หมายความว่า “เมื่อใช้เตาไฟฟ้ากับความต่างศักย์ 220 โวลต์ จะมีกระแสผ่าน
3 แอมแปร์ หรือเกิดกำลัง (P) = IV ดังนั้น P = 220 x 3 = 660 วัตต์”
การต่อวงจรไฟฟ้าในบ้าน
เครื่องใช้ไฟฟ้าต่างๆ เช่น หลอดไฟฟ้า เตารีด พัดลม จะต่อวงจรแบบขนานทั้งสิ้น เนื่องจากต้องการ
ให้เครื่องใช้ไฟฟ้าเหล่านั้นได้รับความต่างศักย์เท่ากันและเท่ากับที่กำหนดไว้บนเครื่องใช้ไฟฟ้า จึง จะเกิดกำลัง
ตามที่กำหนด และถ้าเครื่องมือใดชำรุดเสียหาย ก็จะเสียหายเฉพาะเครื่องใช้ไฟฟ้าเครื่องนั้น ไม่เกี่ยวกับ เครื่องใช้ไฟฟ้าชนิดอื่น
|